สำรวจความตื่นเต้นของสล็อตออนไลน์: คู่มือฉบับสมบูรณ์ เปิดตัวสล็อต Mafia อันน่าตื่นเต้น: สุดยอดคู่มือของคุณ จะเล่นสล็อตโจ๊กเกอร์ได้อย่างไร?

 

General Average (GA)  ไม่โดนไม่รู้
ในฉบับนี้ ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสายการเดินเรือระหว่างประเทศอาจจะเจอปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ไม่ได้ทำประกันภัยทางเรือ อยู่มาวันหนึ่ง ก็โดนบริษัทเรือบังคับให้จ่ายค่าใช้จ่ายนี้ โดยที่คำนวณประมาณ 20-25% ของราคาเต็มในใบกำกับสินค้าของเรา ทั้งที่ท่านผู้ส่งออกไม่ได้เป็นผู้ทำ หรือท่านยืนยันว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้อง จนรู้สึกว่า บริษัทเรือแกล้งทำเฉยจับท่านมาเกี่ยวเฉย ฟังแล้วมันแค้นจริงๆ เขาบังคับให้ท่านผู้ส่งออก และผู้นำเข้า เข้ามาร่วมจ่ายตัง ทั้งที่มันเป็นความเสียหายที่สินค้าของท่านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าอื่นเป็นต้นเหตุ หรือไม่ได้เกิดจากการกระทำจากสินค้าของท่านผู้ส่งออก ผู้นำเข้า

เมื่อวานมีเพื่อนผมเมื่อ 10 ปีก่อนเคยตีกอล์ฟด้วยกัน โทรมาหาผมว่าเขามีปัญหาเรื่องนี้ และเขาไปถามตัวแทนออกของ หรือชิปปิ้งหลายคน ไม่มีใครตอบได้ น้อยคนที่จะรู้ และศึกษา และมีประสบการณ์ เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คอยเกิดบ่อยนัก ผมทำธุรกิจนี้มาเกือบจะ 30 ปี แต่เจอปัญหานี้แค่ 5 ครั้ง ยิ่งเป็นตัวแทนออกของหน้าใหม่ ที่ไม่รู้เรื่องโลจิสติกส์ หรือการขนส่งระหว่างประเทศก็ไปกันใหญ่ ยิ่งคนที่ไม่เคยเอาหนังสือกฎหมายมาอ่านยิ่งไม่มีทางรู้เรื่องนี้ เพื่อนผมบอกด้วยความโกรธอย่างสุดขีด ด่าบริษัทเรืออย่างเสียหายว่า เอาเปรียบผู้ส่งออก และผู้นำเข้า

ผมได้อธิบายที่มาให้เขาฟังว่า เรื่องมันเกิดจากเมื่อสมัยตอนที่โลกเรานี้มีการค้าขายระหว่างทวีปยุโรป และเอเชียใหม่ๆ เรือทุกลำต้องแล่นผ่านแหลม good hope ที่อยู่ตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกาตอนใต้ กัปตันเรือในสมัยนั้นก็จะนั่งกินเหล้าที่เจ้าของร้านเหล้าชื่อนายลอยด์ (Lloyd) นายลอยด์ได้ลำดับฟังเรื่องราวต่างๆ จากกัปตันเรือหลายคนที่มาแวะเวียนในร้านเหล้าของเขาถึงเหตุกาณ์ที่กัปตัน เรือเหล่านั้นได้ประสบอุบัติเหตุบ้าง ของหายบ้าง ต้องปล่อยให้ลูกเรือลอยคอตายต่อหน้า เพื่อรักษาทุกชีวิตบนเรือ ตัวเรือ และสินค้าบนเรือให้พ้นจากวิกฤต ภยันตรายจากพายุ ฟ้า ฝน ที่บ้าคลั่งในกลางทะเล นายลอยด์ได้รับรู้จากประสบการณ์ และรวบเรื่องเล่าเป็นหนังสือเป็นเล่มๆ ได้ ก็ได้คิดไอเดียว่า ให้กัปตันเรือทุกคนเจียดเงินลงขันบางส่วนก่อนที่จะเอาเรือแล่นออกทะเลไว้ เป็นทุน เพื่อช่วยเหลือกัปตันเรือที่มีปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง หรือปัญหาต่างๆ หลังจากนั้นก็เกิดความคิดว่า การที่กัปตันต้องเสียสละสินค้า หรืออุปกรณ์ของเรือ หรือชิวิตของลูกเรือนั้น เป็นการเสียสละ และสูญเสียมากขึ้น คือที่มาของกฎหมายนี้

ต่อมากลุ่มกัปตันเรือก็มีความคิดแบบอัจฉริยะคือ ตั้งแต่นี้ต่อไป ถ้าสินค้าของผู้ส่งออกที่ไม่เสียหายต้องมาช่วยกันหารเฉลี่ยกันจ่ายให้กับ สินค้าของผู้ส่งออกที่โดนทิ้งน้ำ ที่โดนสังเวยเจ้าแม่พายุ หรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเรือลำใหม่ หรือจากไฟไหม้บนเรือ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดระหว่างการเดินเรือ ซึ่งกัปตันก็อ้างว่าตัวเองก็เสียสละเหมือนกันที่บางครั้งต้องรับภาระในค่า ใช้จ่ายที่ต้องเสียอุปกรณ์บนเรือ หรือชีวิตของลูกเรือ หรือซ่อมแซมตัวลำเรือเอง อันนี้ถือว่าหายกันนะ*-X+/??

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทยได้รับเชิญเข้าร่วมกับคณะอนุกรรมการของทางรัฐสภา เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย พ.ร.บ.การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ.2547 ผมเองมีความรู้เรื่องนี้ดีที่สุดในสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทยในตอนนั้น ทางสมาคมฯ ก็ส่งผมเป็นตัวแทน แต่เป็นที่น่าเสียดายมาก กฎหมายแบบนี้ ถ้าจะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น สมาคมผู้ส่งออกของประเทศญี่ปุ่นจะต้องกัดไม่ปล่อย ไม่ยอมให้ออกมาง่าย หรือมีเงี่อนไขเพื่อช่วยผู้ส่งออก และผู้นำเข้ามากกว่านี้ เราผู้ส่งออก หรือสมาคมผู้ส่งออกทั้งหลายที่เกี่ยวกับส่งออกต้องรวมตัว งานนี้เป็นบทเรียนบทนี้ที่ตบหน้าฉากใหญ่ใส่ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า งานนี้เป็นชัยชนะของสมาคมประกันภัย สมาคมตัวแทนเรือ และหน่วยราชการทางด้านการขนส่งซึ่งแข็งแรงกว่า ได้เสนอกฎหมายนี้ออกโดยอ้างความสากล ขอให้ท่านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าว่างๆ ขอให้ไปเอาตัวบทกฎหมายนี้มาอ่านทีละตัว อ่านไปแล้วจะรู้สึกเจ็บจนเลือดไหลแบบซิบๆ ผมเป็นคนเดียวที่สู้เพื่อผู้ส่งออกในห้องประชุมนั้นที่ โต้แย้งไม่เห็นด้วยกับคณะที่ร่วมร่างกฏหมายพ.ร.บ.การเฉลี่ยความเสียหายทั่ว ไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ.2547 ผมพยายามนำเสนอข้อคิดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ส่งออก และผู้นำเข้า แต่ก็แพ้เพราะผมตัวคนเดียวที่รู้ว่าอะไรจะเกิดในอนาคต และเป็นคนธรรมดาที่ไม่มีอำนาจในทางการเมือง ผมได้พยายามอธิบายว่า ตัวเจ้าของเรือก็มีประกันอยู่แล้วจะไปกลัวอะไร ก็ไม่มีคำตอบ หรือบริษัทเรือจะได้ประหยัดเบี้ยประกันภัย ผมบอกว่า ทำไมต้องให้เรือบังคับให้เซ็นเอกสาร และร่วมจ่ายค่าเสียหายเพื่อแลกกับการปล่อยสินค้าที่เอาสิทธิอะไรมาให้บริษัท เรือมีสิทธิต้องยึดสินค้าไว้ก่อน มีสิทธิอะไรมาเอาสินค้าของผู้ส่งออก เป็นตัวประกัน ตัวแทนที่เสนอร่างกฎหมายบอกว่า มันเป็นการดำเนินการแบบสากลระหว่างประเทศ

ที่จริงแล้ว จากเดิมบริษัทเรือมาเรียกร้องทีหลังมันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก บริษัทเรือก็ลดขั้นตอนโดยการบังคับให้จ่ายเงินบางส่วน และเซ็นหน้งสือยิมยอมไม่ให้มีเรื่องต่อกัน จ่ายแล้วจบ เอาเป็นว่าให้มันจบไวๆ ไม่ต้องต้องขึ้นศาลหลายครั้ง แล้วได้เงินชัวร์ๆ เล่นเอากันซื่อๆ อย่างนั้น ตัวแทนบริษัทเรือยืนยันว่าตัวเรือ และอุปกรณ์ และชีวิตของคนบนเรือ เขาต้องรับผิดชอบเอง ในระหว่างที่ประสบอุบัติเหตุ เรือไม่เอาเฉลี่ยในวงเงินที่เป็นค่าสินไหนทดแทน ส่วนสินค้าของลูกค้าก็ให้ลูกค้าอื่นที่ไม่เสียหายร่วมกันจ่าย มันเจ็บกันทั่วหน้า ก็ช่วยกันแชร์หน่อยครับท่านผู้ส่งออก ผมไม่ยอม ยืนถามบริษัทเรือและทนายคนเก่งของเขาว่า แล้วประเมินค่าเสียหายมันน้อยกว่า จะคืนเงินให้หรือเปล่า เขาก็จะคืนเงินให้ แต่ถ้าขาดก็ไม่เรียกเก็บเพิ่ม ท่านผู้ส่งออกต้องรอเพื่อให้บริษัทเรือเก็บเอกสารเกี่ยวกับ G.A. ให้ครบทุกเจ้า มิฉะนั้นบริษัทเรือก็ไม่ปล่อยสินค้าทีละเจ้า ตอนรอท่านผู้ส่งออก ผู้นำเข้าก็ต้องแบกรับภาระค่าเช่าตู้ ค่าภาระเก็บในโรงพักสินค้าด้วยใครรับผิดชอบ  ตัวแทนบริษัทก็บอกว่าที่ผ่านมามันยุ่งยากในการดำเนินการ อันนี้ผู้นำเข้าส่งออกต้องรับภาระไป ถ้าขืนรอเพื่อหลังจากบริษัทเรือทำการสำรวจ (survey) ประเมินความเสียหายมันใช้เวลานาน บางทีเป็นปี ทำให้ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกที่ต้องถ่ายลำเรือต้องรอนานจะเสียหายกันเป็นการใหญ่

ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนจึงเป็นที่มาของกฎหมายฉบับนี้ ผู้ส่งออกบางคนบอกผมว่ามันเกี่ยวอะไรกับเขา บริษัทเรือจะยืดหน่วงตอนก่อนนำเข้าสินค้า มันไม่เกี่ยวกับผู้ส่งออก มันเกี่ยวกับผู้นำเข้าเนื้อๆ ผมขอเตือนท่านผู้ส่งออกที่ชอบพูดว่า “มั่นใจค่ะ ใช้ครีม 91 อี!” ว่า ถ้าท่านประหยัดไม่ยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยทางทะเล แล้วเกิดปัญหาที่อุบัติเหตุกับ บริษัทเรือแล้ว บริษัทเรือหรือตัวแทนประกันภัยของเรือเรียกเก็บเงินสดเพื่อชดเชยค่าสินไหนทด แทนจากผู้นำเข้า แล้วท่านคิดว่าผู้นำเข้าจะไม่ย้อนมาเรียกให้ท่านผู้ส่งออกมาจ่ายแทนหรือครับ ถ้าไม่จ่าย จำไว้นะ ผู้นำเข้าก็จะบอกว่า ใครใช้ให้เธอไปเลือกใช้บริการเรือบริษัทนี้ เหวี่ยงกลับมาที่ผู้ส่งออกอย่างแรง ถ้าท่านผู้ส่งออกยังเถียงอีก อย่าได้หวังจะเอาคำสั่งซื้อสินค้งวดหน้า คราวนี้มันเจ็บหรือเปล่า มาตอนนี้ท่านผู้ส่งออกต้องต้องร่วมจ่ายเงินแทนไม่ทั้งหมดก็บางส่วนเพื่อ รักษาลูกค้า หรือผู้นำเข้า

จาก BSAA NEWS หลักการสำคัญของ GA คือการนำข้อมูลค่าความเสียหายทั่วไป (GA) อันเป็นความสูญเสีย หรือความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการเสียสละทรัพย์สิน หรือค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจงใจกระทำขึ้นตามสมควรเพื่อปกป้องรักษาเรือ และทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายร่วมกัน มาเฉลี่ยกันในระหว่างเจ้าของเรือ และเจ้าของทรัพย์สินที่เผชิญภยัตรายทางทะเลร่วมกัน (Common Adventure) โดยการออกส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป (GA Contribution) ในส่วนของสินค้าที่ต้องร่วมออกส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป มูลค่าสินค้าที่ต้องร่วมเฉลี่ย (Contributory Value) จะคิดจากมูลค่าของสินค้า เมื่อไปถึงท่าปลายทาง หรือท่าที่การเดินทางต้องสิ้นสุด จึงอาจเกิดคำถามว่า ใครคือเจ้าของสินค้า (Cargo Owner) หรือผู้มีส่วนได้เสีย (Cargo Interest) ผู้ซึ่งต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป โดยต้องมอบข้อมูลค่าสินค้า และเซ็น Average Bond และจัดทำ Average Guarantee (ปกติผู้รับประกันภัยสินค้าเป็นผู้ออก หรือกรณีไม่มีประกันภัยก็จะเป็นเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร) ก่อนรับสินค้าไป หากไม่มอบหลักประกัน GA เรือมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยึดหน่วงสินค้าไว้ การตรวจดูผู้เป็นเจ้าของสินค้า หรือผู้รับตราส่งที่ปลายทาง อาจดูได้จากรายการใน Cargo Manifest และในกรณีที่มีข้อสงสัย ตัวแทนสายเดินเรือควรติดต่อทั้ง Shipper และ Consignee เพื่อดูว่าใครเป็นผู้ครองใบตราส่งในขณะนั้น

เกือบลืมเรียนให้ท่านผู้ส่งออกทราบว่า ให้อ่านกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลของท่านด้วยว่า มันคุ้มครองประเด็นนี้ด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่ ก็ให้บริษัทประกัน เพิ่มเงื่อนไขในความคุ้มครองเรื่องนี้ด้วย

หยก แสงตะวัน

บริษัท เฟรท ลิ้งค์ส เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด
507/321 อาคาร เฟรทลิ้งค์ส ซอย สาธุ-ประดิษฐ์ 31 (หมู่บ้านนครไทย ซอย 4) ถนนสาธุ-ประดิษฐ์
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2210-2888    โทรสาร : แผนกเอกสารขาออก 0-2674-3720 / แผนกขาเข้า 0-2674-3722/
ฝ่ายการตลาด (แผนกขาย) 0-2674-3725 /แผนกโลจิสติกส์ 0-2674-3725 /แผนกคอนโซล 0-2674-3725
/ฝ่ายบัญชีและการเงิน 0-2210-2889 /ฝ่ายบุคคลและธุรการ 0-2210-2899
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

FREIGHT LINKS EXPRESS (THAILAND) CO., LTD © 2016 Copyright