คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2553
ผลของข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิด ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถาน
ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ป.อ. มาตรา 364, 365(3)
โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงยกบ้านที่เกิดเหตุให้แก่บุตร และให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ร่วม อีกทั้งยังได้มีการย้ายชื่อจำเลยออกจากบ้านเกิดเหตุไปแล้วภายหลังจากจดทะเบียนหย่า 8 วัน ย่อมแสดงว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้านที่โจทก์ร่วมกับบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกันภายหลังจากที่โจทก์ร่วมกับจำเลยหย่าขาดจากกันแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมาพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ มิฉะนั้นการหย่าและข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจะไม่มีผลแต่ประการใด เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุกระทำของจำเลยที่เข้าไปในบ้านเกิดเหตุในช่วงเวลาดึกประมาณเที่ยงคืนถึงหนึ่งนาฬิกาเช่นนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยจะมาเปลี่ยนเสื้อผ้าและเอาวิทยุสื่อสารนั้น ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน
รวบรวมโดย :
ทนายศศินันท์ จงธนพิพัฒน์ (โทร. 089-8811786)
LAWS AND REGULATIONS
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2553 ผลของข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิด ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถาน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- Details
- Hits: 4640