“เปิดเสรีด้านโลจิสติกส์ ขนส่งไทยพร้อมหรือยัง?”
· ผมได้เข้าร่วมในการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ให้บริการขนส่งไทยภายใต้ความช่วย เหลือจากกองทุน FTA กรมการ ค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2554 ณ หอ้งเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ ซึ่งมีหัวข้อเสวนา “เปิดเสรี ด้านโลจิสติกส์ ขนส่งไทยพร้อมหรือยัง?” โดย
o ผู้แทนสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย, นายสุรพล จันทร์ประภานนท์ ประธานบริษัท เอคเซล เล็นซี ออโต้ บิซิเนส จำกัด, นายวิโรจน์ รมเยศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค.วี. บูรพา จำกัด และดำเนินการเสวนาโดย รศ. (พิเศษ) ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา
o ผู้แทนสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย กล่าวว่าการเปิดการค้าเสรี มีทั้งโอกาสของเรา และเปิดโอกาสให้ต่างชาติด้วยเช่นกัน โดยไทยเป็น Hub ของ อาเซียนซึ่งไทยจะต้องเจอรายใหญ่ทั่วโลก สิ่งที่ต้องระมัดระวังต่อจากนี้คือ กลุ่มประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ เกาหลี อเมริกา ยุโรป ผลกระทบ แนว + คือ ตลาดการค้าใหญ่ขึ้น สำหรับคนที่พร้อมก้าวสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าเดิม AEC อาเซียนต้องการทำให้เป็นตลาดเดียว เป็นศูนย์กลางของอาเซียน คู่ค้าสำคัญทางใต้ของเราคือ มาเลเซีย สำหรับวิทยากรจาก บริษัท สุวรรณบุตร เป็นผู้ขนส่ง Logistic แบบเหมาคันลง 14 จังหวัดใต้ อธิบายว่า ตั้งแต่ด่านแม่สอดถูกปิดทำให้ การขนสินค้าขาลงมีปริมาณมากขึ้น แต่ขาขึ้นไม่มี และเมื่อ AEC เปิด จะมีงานขาขึ้นมากขึ้นโดยเป็นงานขนส่งไม้เป็นส่วนใหญ่ เพราะทรัพยากรจากพม่า ยังมีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้ในอนาคต อาจมีการแข่งขันในภาคนี้สูงขึ้น มาที่ ท่านวิทยากรจาก บริษัท เค.วี. บูรพา รองประธานหอการค้า จังหวัดระยอง กล่าวว่า การขนส่งทางภาคตะวันออก เป็นเหมือนเค้กก้อนใหญ่ จุดเริ่มต้นสินค้า ไม่ใช่ Logistic สินค้าคืออะไร Logistic ก็ต้องปรับตามสินค้านั้นเพื่อให้ เหมาะสมกับการขนส่ง การขนส่งของไทยหลักๆ จะเป็น การขนส่งสินค้าทางการเกษตร อุตสาหกรรม และในอนาคตนั้น รถหัวลาก หรือบรรทุกตู้ บริษัท ตัวแทนรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ หรือ freight forwarder และสายเรือ อาจจะลงมาเล่นเองในเค้ก 100% มีรถวิ่งขนส่ง 400-500 ราย รายใหญ่รับงานทั่วประเทศ รายกลางรับ 10 จังหวัด ส่วนรายย่อยรับ 3-4 จังหวัด ตอนนี้ Traditional Trade 60% และ Modern Trade 40% ในอนาคตสัดส่วนจะยิ่งลดลง Modern Trade จะยิ่งโตขึ้น ต่อไป จะแข่งกันโดยตัดราคากันเอง แล้วจะสู้ต่างชาติไม่ได้ โดยลักษณะแล้วคนไทยทำงานเป็นทีม กลุ่มเครือข่ายนั้นยังไม่แข็งแรงพอ เนื่องจากทะเลาะกันเอง แข่งขันเพื่อประโยชน์ของตัวเอง Modern Trade อย่างเช่น DHL , FREIGHT LINKS EXPRESS, TNT ฯลฯ เดี๋ยวนี้มีการแข่งขันที่แข็งแกร่ง และยากที่จะต่อสู้ โดยแนะนำให้ดู Blue & White เป็นตัวอย่างที่เขาปรับตัวตามการ เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี โดยปรับระดับลงมาเล่นรับงานระดับร้านโชว์ห่วย ต่อไปต้องทำให้ตัวเองเข้มแข็ง สิ่งที่อยากให้ภาครัฐช่วยเหลือมี 3 อย่าง คือ
· 1. มีกลไกในการแข่งขันกับ ต่างชาติที่เท่าเทียม การควบคุมต่างๆ
· 2. บริษัทข้ามชาติที่มีคนไทยถือหุ้น 51% จะซื้อ Family ของไทย ต่างชาติจะเข้ามาแบบ Black Door คือการ เข้าซื้อกิจการในไทย ซึ่งจะเป็นการมาอย่างถูกต้องและมาแบบแข็งแรง
· 3. รายใหญ่ไทยพัฒนาไปเรื่อยๆ เพราะว่ามีทุนและความพร้อม ส่วนรายเล็กไม่พัฒนาตามเนื่องจากขาดปัจจัยในการพัฒนาในหลายๆด้าน ขาดการเข้ามาช่วยเหลือของภาครัฐ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรายเล็กกับรายใหญ่ มากขึ้น และเกิดปัญหาทะเลาะกันเองตามมาของคนไทย เช่น ปัญหารายเล็กโวย ว่ารายใหญ่แย่งลูกค้าหมด หรือรายเล็กตัดราคา หรือรับงานแบบผิดรูปแบบทำให้รายใหญ่เกิดผลกระทบ ซึ่งต่างฝ่ายต่างโทษกัน และกัน รัฐต้องมีกลไกมาควบคุม ไม่ให้รายใหญ่ พัฒนารวดเร็วเกินไป ทำให้ช้าลง และให้ช่วยพัฒนารายเล็กให้ตามทัน โดยรายเล็กต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเอง
o สาเหตุ ที่คนไทยสู้ไม่ได้ เพราะbrand name ยี่ห้อชื่อเสียง และ เพราะเงินทุน แล้วขาดการช่วยเหลือของรัฐบาล
· สำหรับความคิดส่วนตัวของผมแล้ว ผม คิดว่า บริษัทขนส่งไทย ควรจะหาพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อจะได้อยู่ทำให้มีจุดขายที่แข็งแกร่งขึ้น ถ้าบริษัทข้ามชาติ เน้การขนส่งทางทะเล เราซึ่งเป็นบริษัทขน ส่งทางบกก็เสนอเป็นพันธมิตร แลกลูกค้าซึ่งกันและกัน โดยไม่มีบวกกำไร เป็นลักษณะต่างตอบแทน หรือ barter system และท่าที่ทราบมาบริษัทข้ามชาติมักจะชนะการ ประมูล ให้บริษัทโลจิสติกส์แบบ ครบวงจร ซึ่งต้องไปประมูลที่บริษัทแม่ของผู้ผลิตต่างประเทศ ทำให้ไม่มีทางเลือก ต้องใช้ บริษัท ขนส่งของบริษัทข้ามชาติเช่นกัน อย่าไปคิดว่าเป็นปัญหา มาแย้งงาน แต่ให้ มองให้กว้าง มันเป็นโอกาสเสียอีก ทำให้เกิดการสร้างงานให้คนไทยมากขึ้น ใน ขณะเดียวกัน บริษัทขนส่งไทย และ บริษัทผู้ส่งออกไทย ก็อย่ามองข้ามเรื่องการใช้เทคโนโลยี่ ไม่ว่า จะเป็น ระบบโปรแกรมคอมพิวแตอร์ ซึ่งงานนี้ทางกรมการค้าต่างประเทศ มี แจกฟรีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับ การขนส่ง ด้วย แต่อย่างไรก็ดีบริษัทขนส่งไทยไม่ควรมองข้าม ระบบ RFID แบบ GPRS ระบบ การควบคุมเส้นทาง ควบคุมค่าใช้จ่ายใน ส่วนของเชื้อเพลิง และต้อง ปรับตัว ไม่ใช่ว่าแค่ การใช้ เทคโนโลยี่ เรายัง ต้อง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น ไม่ว่าการใช้ระบบ ISO 9001:2008 ซึ่งทางกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ได้เคยจัดหลักสูตร “การพัฒนาธุรกิจ โลจิสติกส์สู่มาตรฐาน ISO” ถ้าสมาคมขนส่งใดสนใจ ก็แจ้งความจำนงไปทางกระทรวงพาณิชย์ได้ ส่วนเรื่องเงินทุนทางกระทรวงฯก็ได้เป็นคนประสาน กับ exim bank ในสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ แล้ว ถ้าจำไม่ผิดก็ประมาณ 300 ล้านบาท ภาคขนส่งทางบกจะได้กู้เงินก้อนนี้มากกว่าภาคโลจิสติกส์อื่น ผม ว่าทางกระทรวงพาณิชย์ได้ช่วยเหลือหลายอย่างตามที่ผู้ประกอบเอกชน ร้องขอมาเกือบครบแล้ว แต่ ทางกระทรวงพาณิชย์ยังอ่อนเรื่องการประชาสัมพันธ์ว่าได้ทำ อะไรไปแล้ว ก็เลยเป็นเป้านิ่งให้เขาวิ จารณาฝ่ายเดียว ก็ ขอฝากไว้ด้วย
หยก แสงตะวัน
ARTICLE
“เปิดเสรีด้านโลจิสติกส์ ขนส่งไทยพร้อมหรือยัง?”
- Details
- Hits: 5359